หากใช้ท่าโลวซีอ้าวปู้ (ไทยแปลเป็น ปัดเข่ายั้งก้าว อะไรงั้นมังครับ) เป็นตัวอย่าง คนส่วนใหญ่ล้วนแต่ใช้เท้าหลัง (ขาหลัง) ถีบไปข้างหน้าเพื่อเป็นยืนคันธนู เนื่องจากตามวิธีคิดทั่วไปและกระบวนการคิดคิดเองเออเองนั้น ล้วนแต่คิดได้ว่า มีแค่ใช้เท้าหลังถีบไปข้างหน้าจึงจะสามารถกลายเป็นท่ายืนคันธนูได้ ซึ่งนี่คือแรงขวาง (หมายถึงแรงที่เคลื่อนแนวขวางขนานกับพื้นเท่านั้น ไม่มีมิติอื่นๆ) แต่ว่ามวยไท่จี๋นั้นไม่ใช่วิธีคิดทั่วไป ยังต้อง “ทิ้งความเคยชินในการใช้แรงปกติ” เพื่อเรียนการเปิดหว่างขาเคลื่อนไปสู่ยืนคันธนูด้วยการจมลงล่างอย่างธรรมชาติ การจมลงคือแรงดิ่ง (หมายถึงแรงในแนวตั้งตรง) มีแค่อย่างนี้ จึงจะทำให้สองเท้าสามารถฝึกแรงดีดสะท้อน (ถานลี่) ขึ้นมาได้
เคยมีคนบอกฉันว่า การเคลื่อนไปยังกงปู้ (ยืนคันธนู) คือการที่ถีบไปข้างหน้าโดยแฝงแรงจม (เฉินจิ้ง) แต่บางทีก็บอกว่าคือใช้แรงจมมาเกิดแรงถีบ ทำเอาสับสนวุ่นวายไปหมด ฉันถามไปหลายครั้ง ว่าตกลงแล้วคือใช้การถีบเป็นหลัก? หรือใช้การจมเป็นหลัก? เขาครั้งนึงบอกว่าใช้การถีบเป็นหลัก ในถีบค่อยมีจม แต่อีกครั้งเขากลับบอกว่าใช้การจมเป็นหลัก ในจมค่อยมีถีบ ก่อนหลังขัดแย้ง พูดก็เหมือนไม่ได้พูด ฉันก็ค่อยรู้ว่า เขาก็ไม่รู้เรื่องพอๆ กับฉันนั่นแหละ…
ฉันจึงเขียนจดหมายถึง อ.หลีหย่าเซวียน ท่านตอบจดหมายกลับมาว่า “เธอถามอะไรกันเนี่ย? ในถีบมีจม ในจมมีถีบ มั่ววุ่นวายไปหมด อย่างนี้มาหาฉันเลยดีกว่า!!”
ฉันไปถึงบ้านของท่าน ทางหนึ่งทำท่าโลวซีอ้าวปู้ (ปัดเข่ายั้งก้าว) ทางหนึ่งก็ถามว่า “ตกลงแล้วจะทำท่ายืนคันธนู (กงปู้) ต้องใช้แรงจมเป็นหลัก หรือคือใช้การถีบไปข้างหน้าเป็นหลัก?”
ท่านมองและยิ้มอย่างเมตตากล่าวว่า “ที่แท้เธอยังไม่เข้าใจนี่เอง ยากจะโทษว่าทำไมกงฟูเธอถึงยังไม่ดีพอเสียที” ท่านก็ใช้มือหนึ่งกดมาที่ท้องของฉัน มือหนึ่งกดไปที่เอวด้านหลัง ทำการเคลื่อนไหวให้เกิดการจมลงล่างที่ชักนำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น
“อย่างนี้มิใช่เป็นคันธนูแล้วเหรอ!” จากนั้นท่านก็ทำการเคลื่อนไหวกลับไปกลับมาให้ฉันดูอีกสองครั้ง จนสุดท้ายก็เข้าใจแล้ว
นับจากเรียนมวยจนถึงตอนนี้ ก็ผ่านไป 13 ปีแล้ว 13 ปีที่ผ่านมาของฉันมีแค่ฝึกสองมือ แต่มวยไท่จี๋ของเอว คว่า ขา กลับยังไม่ได้เริ่มเลย!
ท้ายที่สุดท่านยังกล่าวอย่างชัดแจ้งว่า “เรียนมวยต้องใช้แรงจม (เฉินจิ้ง) เป็นหลัก ไม่ใช่ตั้งใจผลักไปข้างหน้า” นี่คือท่านปฏิเสธการฝึกฝนโดยเคลื่อนคันธนู (กงปู้) ด้วยการถีบไปข้างหน้านั่นเอง
ในชีวิตนี้ ปัญหาที่สอบถามครูอาจารย์และมิตรสหายนั้น กล่าวได้ว่ามากมายปานขนวัว แต่มีแค่การถามนี้ที่ฉันพอใจที่สุด เนื่องจากพอถามออกไปแล้ว ก็ได้ “วิธีมวยใหม่” ขึ้นมา นี่แสดงว่าคนมากมายที่คิดเองและยืนกรานดื้อแพ่งไปในทางที่ผิดนั้น ล้วนแต่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างชัดเจน นี่จึงเป็นการให้ความกระจ่างอยู่อย่าง คือจักต้องให้ความสำคัญต่อกฎเกณฑ์ของการเคลื่อนไหวในมวยไท่จี๋ คนที่ใช้สามัญสำนึกส่วนตัวและการมโนไปเรียนมวย ควรเปลี่ยนทางได้แล้ว
อาจารย์หลีหย่าเซวียนแค่กล่าวว่า “เรียนมวยต้องใช้แรงจมเป็นหลัก ไม่ใช่ตั้งใจผลักไปข้างหน้า” ก็เป็นการยกระดับคุณภาพของมวยไท่จี๋ เป็นการอุทิศสิ่งใหม่ นี่เป็นทั้งแนวคิดที่สร้างสรรค์ของท่าน และยังเป็นการปฏิรูปของท่าน เปรียบกับพวกที่เสียเวลาทั้งวันเพื่อคิดว่าจะไปตัดชุดรำให้สั้นลงยังไง นี่ย่อมรู้ได้เลยว่าห่างกันไกลอย่างเทียบไม่ได้