อ.ซ่างหยุว์นเสียงและมวยสิงอี้
- 31/07/2017
- Posted by: Liang
- Category: สิงอี้เฉวียน-ซินอี้เฉวียน
ซ่างหยุว์นเสียง (1864-1937) เกิดที่ เหลลิง มลฑลซานตง วัยเด็กได้เดินทางไปยังเป่ยจิง(ปักกิ่ง) กับบิดา ในเวลานั้น ซ่างหยุว์นเสียงได้เรียน กงลี่เฉวียน จากหม่าต้ายี่ และมั่นใจในฝีมือของตนอย่างยิ่ง จนได้ท้าประลองกับ หลี่ฉุนยี่ (ผู้มีชื่อเสียงในวิชาดาบจนได้รับฉายา “ตานตาวหลี่-ดาบเดี่ยวแซ่หลี่”) แต่กลับถูกหลี่ฉุนยี่พิชิตอย่างง่ายดาย จากนั้นเขาจึงได้เริ่มเรียนสิงอี้เฉวียนจากท่านหลี่ฉุนยี่ และต่อมาได้กลายเป็นศิษย์เอกคนหนึ่งของท่านหลี่
กัวหยุว์นเซิง ได้ให้การยอมรับในฝีมือของซ่างหยุว์นเสียง และได้ถ่ายทอดเคล็ดลับหลายประการแก่ซ่าง ภายใต้การชี้แนะของท่านกัวทำให้ซ่าง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังของขา จนต่อมาได้รับฉายาว่า “พุทธะขาเหล็ก”(เถี่ยถุยฝอ)
ท่านซ่าง ได้รับสืบทอดทักษะอันโด่งดังสามประการของท่านกัวหยุว์นเซิง ได้แก่ “ครึ่งก้าวหมัดทะลาย(เปิงเฉวียน)”, “ตีด้วยพลังตันเถียน” และ”พลองยาว” ซ่าง ได้ประลองกับครูมวยชื่อดังหลายท่านในเวลานั้น เช่น เฟิงเหลาเจิ้ง(เชี่ยวชาญวิชาซุยเจียว-มวยปล้ำ และปาฟานจื่อ), หม่าซิว(เชี่ยวชาญ ปาจี๋เฉวียน และ ทวนยาว) และอีกหลายๆท่าน และชนะทั้งหมด
ท่านซ่างหยุว์นเเสียง มีการสอนที่แตกต่างในช่วงเวลาที่ต่างกันในชีวิตของท่าน ในช่วงแรกนั้นลูกศิษย์ของท่านได้เรียน “แบบเก่า” ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมของสายเหอเป่ย มีรูปแบบพื้นฐานของท่านหลี่ฉุนยี่และให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับระบบของท่านกัวหยุว์นเซิง ต่อมาโดยตามตัวอย่างจากอาจารย์ของท่าน (ท่านหลี่ฉุนยี่ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบของท่านหลังจากท่านกลับจากซานซี หลังจากกบฏนักมวยถูกพิชิตลงในปี 1900 และท่านได้รู้จักกับนักมวยสิงอี้เฉวียนในท้องถิ่นหลายท่าน) และจากประสบการณ์และความเข้าใจในสิงอี้เฉวียนที่มากขึ้น ท่านซ่างได้ค่อยๆแก้ไขรูปแบบดั้งเดิมจนกลายเป็นรูปแบบของท่านซ่าง(แบบใหม่) ศิษย์รุ่นแรกของท่าน เช่น หลิวหัวผู่ เรียน “แบบเก่า” ขณะที่ศิษย์รุ่นหลังของท่านเช่น หลี่เหวินปิน และ ซ่างจื่อหรง(ลูกสาวท่านซ่าง) เรียน “แบบใหม่”
สิงอี้เฉวียนแบบท่านซ่าง ให้ความสำคัญกับการยืนในท่าซานถิ และฝึกกงเล็บอินทรี (ยิง เจ่า) ซึ่งถือเป็นมวยแม่ (หมู่เฉวียน)ในระบบของท่าน การฝึกกงเล็บอินทรีมี “ยก-เจาะ-ลง-กลับ” (ฉี จ้วน ลั่ว ฟาน) และสร้าง “พลังคลื่นย้อนทวน” (ฝ่านล่างจิ้ง) พลังเฉพาะของ สิงอี้เฉวียน และยังฝึก”ขาตีเจ็ดส่วน มือตีสามส่วน” ,”จิตมุ่งหน้าราวลมกวาดพื้น”-“พลังตะลุย” (ถางจิ้ง) และ”พลังแรงก้าวเหยียบ” (ไฉจิ้ง) หมัดห้าธาตุ และสิบสองท่าสัตว์ รวมทั้งท่าฝึกเดี่ยวมือเปล่า-หมัดต่อเนื่อง (เหลียนหวนเฉวียน), หกประสาน (ลิ่วเหอ), แปดท่า (ปาซื่อ), สิบสองหมัดกัมปนาท(สือเออร์หงฉุย) และหมัดรวมท่า (จ๋าซื่อฉุย) –มือเปล่าเข้าคู่-ห้าธาตุระเบิด (อู่สิงเผ้า), และป้องร่างระเบิด (อันเซินเผ้า) ท่าฝึกอาวุธ-ห้าธาตุ (อู่สิง), ต่อเนื่อง (เหลียนหวน) และหกประสาน (ลิ่วเหอ) โดยใช้ ดาบ, กระบี่, ทวน, พลอง (เตา, เจี้ยน, เชียง, กุ้น) รวมทั้งอาวุธซึ่งพบได้ยากได้แก่ ดาบเขากวาง (หลินเจี้ยวเตา) และ หอกปีกหงส์ (เฟิงซื่อตาง) ทั้งการฝึกมือเปล่าและอาวุธมีลักษณะเฉพาะของการฝึกพลังตามแบบของท่านซ่าง
ในการสอนนั้น ท่านซ่างให้ความสำคัญกับพลังภายใน (เน่ยจิ้ง) ซึ่งห้ามการออกแรงหายใจหรือใช้เพียงพลังกล้ามเนื้อ แต่แทนที่ด้วยการผ่อนคลายและเป็นธรรมชาติ ประสานการเคลื่อนไหวให้เกิดความฉับพลันทันที และระเบิดอย่างรุนแรงของพลัง (ปาวฟาจิ้ง) พลังแกร่ง (กังจิ้ง)นั้นถือว่าได้มาเมื่อบรรลุขั้น “ก้าวย่างแกร่ง ตีแกร่งก้าว ไร้ขัดขวาง” (ยิ่งจิ้นยิ่งต๋าอู๋เจอหลาน) ขั้นต่อไปคือเข้าใจถึงในแกร่งยังมีหยุ่น ใช้ “ปล่อยพลังเมื่อแตะถึงตัว” (จ่านเซินคงลี่), “ค่อยปล่อยเพิ่ม เมื่อเคลื่อนอย่างเชื่องช้า” (หนวนต้งจู๋ฟา) ยังเกี่ยวถึง “พลังคลื่นย้อนทวน” (ฟานล่างจิ้ง), “พลังปล่อยเมื่อจิตเคลื่อน”(อี้ต้งจิ้งฟา), “ระเบิด(พลัง)คือสะบัดและระเบิด” (เจวี๋ยซื่อโต่วเจวี๋ยเย่) เกี่ยวถึง “พลังสะบัดและกรรโชก” (โต่วโล่วจิ้ง), “พลังระเบิดกระจาย” (จ้าจิ้ง) เปรียบถึง “รีด-ปริ-เด็ดผลถั่ว” (เจิ้งเปิงไจ๋โต้วเจี่ยว) ขั้นต่อไปคือฝึกฝนสู่ พลังสะเทิน (ฮว่าจิ้ง)ของการ”ปล่อยโดยไร้จิตสำนึก (ปู้อี้เออร์ฟา)”