เนื้อหา
เสนอคำว่า “จิ้น” 劲 ตัวเต็ม 勁 ซึ่งมักจะแปลเป็นไทยว่า “แรง”พร้อมกับวลียอดฮิต “ย่งอี้ปู๋ย่งลี่” 用意不用力 ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ใช้จิตไม่ใช้กำลัง” ซึ่งก็ขออธิบายคำว่า “อี้” 意 หรือ “จิต” ไปด้วยเลยมาที่คำแรกก่อน ที่จริง ผมเองก็ใช้คำนี้ว่า “จิ้ง” ตามความเคยชินของคนฟังคนอ่าน แต่ที่จริงแล้ว คำนี้ออกได้สองเสียง คือถ้าเป็นคำนาม ที่แปลว่า แรง ความแข็งแกร่ง จะอ่านว่า “จิ้น” ถ้าอ่านเป็น “จิ้ง” จะเป็นคำ adj คือใช้ขยายนามแต่บ้านเราอ่านจิ้งตามหนังสือเล่มแดงใหญ่ ซึ่งมันผิด แต่ก็ช่วยไม่ได้ พอเปลี่ยนมาเรียกจิ้น คนก็ตามไม่ทันกันเสียแล้ว ก็คงต้องเรียกจิ้งบ้าง จิ้นบ้างกันไปก่อน
ขออธิบายคำว่าอี้ก่อน เพราะจะได้เข้าใจก่อนไปที่วลีเด็ดของเรา คำว่าอี้นั้น ถูกแปลว่าจิต ซึ่งก็ถูกอยู่บ้าง แต่มันฟังเป็นอะไรที่มัน…พุทธๆ ไปหน่อย ซึ่งหลายคนมองมวยไท่จี๋เป็นการฝึกจิตสมาธิไปนู่น ซึ่งที่จริงแล้ว อี้ในที่นี้คือ “อี้เนี่ยน” 意念 หมายถึงความคิด เจตจำนง ความคิดที่ต้องจดจ่อ ซึ่งใช้ในการควบคุมร่างกายเวลาที่เราต้องทำงานฝีมือต่างๆ ไม่ว่าจะวาดรูป ปั้นงาน อะไรเหล่านี้ ก็คืออี้ตัวนี้พูดง่ายๆ คือ รำมวยไท่จี๋ เป็นงานละเอียดที่ต้องใช้จิตจดจ่อ รับรู้ ขับเคลื่อนเอาล่ะครับ กลับมาที่วลีของเรา คือใช้จิตไม่ใช้กำลัง ซึ่งก็แปลตามนั้นครับ มวยไท่จี๋เวลาเคลื่อนไหวนั้น ขับเคลื่อนด้วยจิต ไม่ใช่กำลัง คือไม่ใช้กำลังขับเคลื่อนร่างกาย ดันขา ถีบขา ดันตัว ดันมือ อะไรทั้งนั้น แต่จะใช้อี้นำ พูดง่ายๆ คือ เราไม่ออกแรงไปทำนู่นทำนี่ ด้วยกล้ามเนื้อร่างกายเราตรงๆ หรือใช้เป็นต้นตอขับเคลื่อนนั่นแหละ เราอาศัยอี้มาขับเคลื่อน
แต่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คำว่าไม่ใช้กำลัง หรือไม่ออกแรง ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องไม่มีแรง…ที่จริง คำว่าจิ้ง (แรง) กับลี่ (กำลัง) เนี่ย พอแปลไทยมันก็ปนๆ กันไปหมดอยู่นะครับ เอาว่า พยายามแยกในคำจีนละกันนะครับมวยไท่จี๋นั้น ไม่ใช้กำลัง ไม่ใช้แรง ไม่ออกแรง แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องอ่อนยวบยาบ ไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง ไม่ใช่นะครับ ตรงกันข้ามเลย เมื่อคุณฝึกถูกเนี่ย คุณต้องมีแรง ซึ่งเป็นแบบทุติยภูมิ คือไม่ใช่แรงดิบที่คุณใช้กำลังขับเคลื่อนออกมา แต่เป็นแรงที่ผ่านกระบวนการมวยไท่จี๋ โดยไม่ใช้กำลังขับเคลื่อนออกมา แล้วแรงนี้นี่แหละ ที่นำไปใช้ในการผลักมือ การต่อสู้ ของมวยไท่จี๋ไม่ใช้แรง กับไม่มีแรง เป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ บอกเลย อย่าไปปนกัน ไม่ใช่ว่าไม่ใช้แรง ก็ต้องอ่อนยวบยาบไม่มีแรง อันนั้นมั่วนะครับที่ถูกคือต้องมีแรง ดังนั้นในมวยไท่จี๋ เลยมีคำว่า “จิ้น” หรือแรงที่เกิดจากกระบวนการมวยไท่จี๋ออกมา เรียกว่า “ไท่จี๋จิ้น”แต่บ้านเราแปลก ไปแตะมือกับใครเนี่ย มีแรงนิดเดียวไม่ได้ หาว่าใช้แรง หาว่าผิด ที่ถูกคือต้องอ่อนย้วยดังนั้นตามการอธิบายนี้ คือเมื่อเรามองกลับไปที่ภาษาจีน จะพบว่า มันมีการแบ่งแยกคำ และวิธีการใช้คำกันชัดเจน นั่นหมายความว่า ในกระบวนการฝึก ก็ต้องแบ่งแยกกระบวนการและแนวคิดเหล่านี้ให้ชัดเจนด้วยย้วยคือผิดนะครับ ในมวยไท่จี๋เรียกว่า “ติว” 丢 ไว้วันหลังค่อยอธิบาย
-เหลียง-